‘โรคกระดูกสันหลังเอวเคลื่อน’ คือ โรคทางกระดูกชนิดหนึ่ง ที่มีการเคลื่อนตัวของข้อสันหลัง ตั้งแต่บั้นเอวไปจนถึงด้านหน้าปล้องกระดูกสันหลังซึ่งอยู่ติดกัน โดยกระดูกส่วนที่เคลื่อนมากที่สุด คือ กระดูกสันหลังเอว ข้อ 4 และ 5
โรคกระดูกสันหลังเอวเคลื่อน เกิดจากอะไร ?
เกิดการเสื่อมสภาพของข้อต่อของกระดูกสันหลัง จึงส่งผลให้เกิดการเคลื่อนที่ของปล้องกระดูก ซึ่งตามปกติแล้วมันจะอยู่แต่ตำแหน่งของมัน โดยอาจไม่มีการต่อกันในส่วนของปล้องกระดูกกับแผ่นกระดูก อันจัดเป็นความพิการมาตั้งแต่กำเนิด ซึ่งอาจเกิดจากอาการบาดเจ็บของกระดูกสันหลัง ที่รับน้ำหนักในท่าก้มหลัง แล้วดันเกิดแรงหมุนบิดขึ้นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว เช่น นักกีฬายกน้ำหนัก , นักกีฬายิมนาสติก หรือเกิดอุบัติเหตุโดยตรงต่อกระดูกสันหลัง เป็นต้น หรืออาจเกิดจากการติดเชื้อที่กระดูกสันหลัง เช่น วัณโรค , โรคมะเร็งซึ่งกระจายตัวมายังกระดูกสันหลัง เป็นต้น
ใครบ้างมีโอกาสเสี่ยงสูงในการเกิดโรคกระดูกสันหลังเอวเคลื่อน ?
สำหรับในเพศหญิงจะพบโรคนี้มากกว่าเพศชายเพียงเล็กน้อย แลมักพบโรคนี้ในวัยกลางคนจวบไปจนถึงผู้สูงอายุ อีกทั้งยังพบมากในผู้มีน้ำหนักตัวเกิน ผู้ทำงาน หรือเล่นกีฬาที่ต้องก้มๆ เงยๆ เป็นประจำ และผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุบริเวณหลังอย่างรุนแรง
โรคกระดูกสันหลังเอวเคลื่อนจะก่อให้เกิดอาการอย่างไร ?
กระดูกสันหลังเอวเคลื่อน ในกรณีเป็นตั้งแต่กำเนิด จะปรากฏอาการหลังค่อมระดับเอว ส่วนอาการอื่นๆที่ตามมา ก็จะพบอาการปวดหลังช่วงล่าง โดยอาการเหล่าจะค่อยๆทวีความรุนแรงมากขึ้น มีอาการมากขึ้นเวลาเดินหรือยืน และลามลงมาปวดก้นและต้นขา บางรายอาจพบอาการขาชาเพราะพบเส้นประสาทกดทับ
วิธีรักษาโรคกระดูกสันหลังเอวเคลื่อน แบ่งออกเป็น 4 ระดับ ได้แก่…
- ระดับ1 พบการเลื่อนเพียง 25%
- ระดับ2 พบการเลื่อน 25-50%
- ระดับ3 พบการเลื่อน 50-75%
- ระดับ4 พบการเลื่อนมากกว่า 75% ขึ้นไป
โดยการรักษาไม่จำเป็นต้องเข้ารับการผ่าตัดเสมอไป สำหรับผู้ที่พบการเลื่อนของกระดูกเพียงเล็กน้อย อาจใช้อุปกรณ์พยุงหลัง ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้หลังก็จะค่อยๆทำให้กระดูกฟื้นตัวกลับมาอยู่ในทิศทางถูกต้อง จะผ่าตัดก็ต่อเมื่อผู้ป่วยมีอาการตั้งแต่ยังเด็ก ซึ่งรักษาให้หายขาดได้ , ผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังอย่างรุนแรง หรือพบการกดทับเส้นประสาท เป็นต้น นอกจากนี้การทานแคลเซียมเม็ด อาจได้ประโยชน์เฉพาะผู้มีภาวะกระดูกพรุนร่วมด้วยเท่านั้น แต่สำหรับผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่มีปัญหาดังกล่าว ก็จะไม่แนะนำ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแพทย์