พฤติกรรมเสี่ยงต่อการเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

การใช้ชีวิตของคนเราตั้งแต่วัยเด็กมาจนถึงวัยทำงานมีคนจำนวนไม่น้อยที่ละเลยในเรื่องของสุขภาพตัวเอง ไม่ได้ใส่ใจหรือสนใจว่าการใช้ชีวิตในลักษณะนี้จะส่งผลเสียต่ออนาคตอย่างไร ด้วยสิ่งที่กระทำนั้นมันอาจไม่ได้ส่งผลทันทีแบบปัจจุบันทันด่วน แต่หากใครที่มีพฤติกรรมทำอะไรแบบสุ่มเสี่ยงมากๆ ก็อาจทำให้กลายเป็นโรคต่างๆ ในอนาคตได้เช่นกัน โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทก็เป็นอีกโรคหนึ่งซึ่งเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของคนเราเป็นเวลานานติดต่อกัน หลายคนอาจไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสิ่งที่กำลังทำในเวลานี้จะส่งผลต่อโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทในอนาคตได้ ลองมาดูกันว่าพฤติกรรมเสี่ยงแบบไหนบ้างที่อาจส่งผลให้กลายเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

พฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

  1. น้ำหนักตัวมากเกินไป – คนอ้วน คนที่มีน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตรฐาน โดยเฉพาะคนที่อ้วนลงพุงเนื่องจากน้ำหนักที่มากจนเกินไปนี้ส่งผลให้หลังแอ่น กระดูกสันหลังส่วนล่างต้องรับน้ำหนักมากเป็นเวลานาน
  2. การแบกของหนัก – การแบกของหนักๆ เกินกำลังเป็นประจำจะส่งผลให้กล้ามเนื้อหลังถูกใช้งานอย่างหนักมากกว่ากล้ามเนื้อต้นขาและกล้ามเนื้อขา กระดูกสันจึงเกิดอาการบิดหรือเคลื่อนที่ได้นั่นเอง
  3. การสูบบุหรี่จัด – การสูบบุหรี่จัดจะทำให้ออกซิเจนเข้าไปเลี้ยงยังกระดูกสันหลังได้ไม่ดีพอ จากสิ่งนี้จะส่งผลให้กระโกสันหลังสูญเสียความยืดหยุ่นอีกทั้งยังทำให้กระดูกสันหลังเสื่อมเร็วกว่าปกติอีกด้วยนอกจากนี้การสูบบุหรี่จัดยังส่งผลต่อโรคอื่นๆ อีกมากมาย
  4. การใช้งานร่างกายผิดท่าทาง – ไม่ว่าจะเป็นการก้มลงยกของโดยไม่ได้ระแวดระวัง การกระโดดขึ้นลงรถประจำทาง การปีนป่ายเพื่อขึ้นไปหยิบสิ่งของต่างๆ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตามต้องมีการจัดระเบียบร่างกายอย่างเหมาะสม
  5. ไม่ออกกำลังกาย – การที่ร่างกายไมได้ออกกำลังกายจะส่งผลให้กล้ามเนื้อฝ่อ ลีบ ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกได้
  6. พันธุกรรมและความเสื่อมที่เกิดขึ้นตามวัย – หากใครมีพ่อแม่พี่น้องหรือญาติเป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมก็มีความสุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทด้วยเช่นเดียวกัน นอกจากนี้การแก่ชราตามวัยก็ส่งผลให้กระดูกเสื่อมได้ด้วยเช่นกัน
  7. การเกิดอุบัติเหตุ – บางครั้งการเกิดอุบัติเหตุอาจส่งผลไปยังหมอนรองกระดูกทำให้หมอนรองกระดูกเคลื่อนที่ไปกดทับเส้นประสาทได้เหมือนกัน

การดูแลตนเองและใส่ใจในสุขภาพรวมถึงลดพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ เหล่านี้จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ไม่ยากเพียงแค่ต้องเริ่มต้นทันที