หมอนรองกระดูกเสื่อมคืออะไรและรักษาอย่างไร

หากใครกำลังมีความคิดว่าโรคประเภทความเสื่อมต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นสายตา กระดูก การได้ยิน และอื่นๆ อีกมากมายจะเกิดขึ้นแต่กับคนที่มีอายุแล้วความคิดแบบนี้ถือว่าผิดมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมอนรองกระดูกที่คนส่วนใหญ่มองว่าคงต้องเป็นคนที่อายุเยอะอย่างเดียวจึงจะเจออาการและโรคดังกล่าว ความจริงแล้วโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนเพราะความเสื่อมของหมอนรองกระดูกก่อนวัยสามารถเกิดขึ้นได้ที่สำคัญเป็นไปได้มากเสียด้วยกับคนที่นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานและคนที่นิยมการทำกิจกรรมผาดโผนทั้งหลาย

หมอนรองกระดูกเสื่อมคืออะไร

อวัยวะอย่างกระดูกสันหลังของเราจะประกอบไปด้วยการต่อกันของกระดูกหลายๆ ชิ้นซึ่งระหว่างกระดูกที่มีการต่อกันนี้จะมีสิ่งที่เรียกว่า หมอนรองกระดูก เป็นตัวคั่นกลางเอาไว้ ดังนั้นหากกระดูกสันหลังทั้งหมดมีกี่ชิ้นหมอนรองกระดูกก็จะมีจำนวนใกล้เคียงกัน จริงๆ แล้วหมอนรองกระดูไม่ใช่กระดูกแต่จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ วงรอบนอกมีลักษณะเป็นเอ็นแข็งเรียกว่า Anular Ligament กับตรงกลางมีลักษณะเป็นเจลใสเรียกว่า Nucleus Pulposus ทั้งหมดทั้งมวลนี้มีหน้าที่รับแรงกระแทกเพื่อทำให้เราสามารถเคลื่อนไหวกระดูกสันหลังได้ดีมากขึ้น หมอนรองกระดูกเสื่อมก็เกิดจากการใช้งานหมอนรองกระดูกที่ผิดท่าทางมาเป็นระยะเวลานานทำให้หมอนรองกระดูกเกิดความเสื่อมสภาพลงซึ่งจะส่งผลในอนาคตต่อการเป็นโรคกระดูกทับเส้นประสาทด้วย และหากอาการดังกล่าวเกิดขึ้นก็จะเสี่ยงต่อการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ไปอีก เป็นความเสี่ยงที่อันตรายส่งต่อเป็นผลกระทบอย่างมาก

การรักษาอาการหมอนรองกระดูกเสื่อม

จริงๆ แล้วการรักษาอาการหมอนรองกระดูกเสื่อมไม่ได้มีวิธีการที่จะทำให้หายขาดได้เพราะอาการจะไม่ค่อยแสดงออกนอกจากกระดูกจะเคลื่อนไปทับเส้นประสาทแล้ว แต่ถ้าหากรู้สึกปวดหลังและไปพบแพทย์จนแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูเสื่อมก็จะสามารถรักษาด้วยการทานยาแก้ปวด พยายามกายภาพบำบัดในท่าทางที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์ แต่ถ้าหากว่าอาการหนักขึ้นจนกลายเป็นโรคกระดูกทับเส้นประสาทก็จำเป็นที่จะต้องผ่าตัดไม่อย่างนั้นจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย

อย่างที่กล่าวไว้ว่าอาการหมอนรองกระดูกเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนไม่ใช่แค่คนสูงอายุเท่านั้น การดูแลสุขภาพร่างกายตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ชีวิตของเราปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ที่สำคัญคือการพยายามเปลี่ยนท่าทางประจำสำหรับคนทำงานออฟฟิศหรือต้องนั่งทำงานเป็นเวลานานจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมได้ด้วยเช่นเดียวกัน เป็นการป้องกันเอาไว้ดีกว่าแก้ทีหลัง