โรคเกี่ยวกับกระดูกสันหลังนับวันยิ่งเป็นกันเยอะ

วิธีรักษาโรคหมอนรองกระดูกอักเสบอย่างถูกต้อง

วิธีรักษาโรคหมอนรองกระดูกอักเสบอย่างถูกต้อง

วิธีรักษาโรคหมอนรองกระดูกอักเสบอย่างถูกต้อง การเป็นโรคหมอนรองกระดูกอักเสบถือว่ามีความสุ่มเสี่ยงอย่างมากที่อาจจะทำให้กลายเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทในอนาคต เพราะฉะนั้นหากรู้ตัวหรือสังเกตอาการตัวเองได้ว่าเป็นต้องรีบปรึกษาแพทย์ทันทีอย่าปล่อยให้อาการลุกลามนานจนเกินไป ยิ่งปล่อยเอาไว้อาการก็จะยิ่งแย่ลงจนสุดท้ายอาจทำให้ไม่สามารถรักษาให้หายได้เลย หลายคนมองว่าอาการหมอนรองกระดูกเสื่อมก็เหมือนกับอาการปวดหลังทั่วไปแต่จริงๆ แล้วมันส่งผลร้ายแรงกว่าแค่การปวดหลังอย่างเดียวแน่ๆ การรู้จักวิธีการรักษาจึงเป็นเรื่องดีที่จะช่วยให้อาการเหล่านี้หายไปเองได้ สาเหตุของการเป็นโรคหมอนรองกระดูกอักเสบ 1. อักเสบที่เกิดจากการติดเชื้อ – ส่วนมากมักลามมาจากอาการติดเชื้อในกระแสเลือดแล้วเชื้อไปเกาะอยู่บริเวณกระดูกสันหลังจากนั้นลามมายังหมอนรองกระดูก นอกจากนี้การฉีดยาเข้าเส้นไปยังหมอนรองกระดูกและมีเชื้อโรคตามเข้าไปด้วยนั่นเอง 2. อักเสบอันเกิดจากความเสื่อมของร่างกาย – เมื่อมีอายุมากขึ้น ร่างกายก็จะเริ่มเสื่อมสภาพมากขึ้น กระดูกต่างๆ ก็ค่อยๆ เสื่อมลงตามกาลเวลา หมอนรองกระดูกก็จะเกิดเป็นรอยแตกร้าว แต่ร่างกายเราจะไม่สามารถรับรู้ได้ก่อนเลยว่าในหมอนรองกระดูกมีอะไรอยู่ข้างในบ้าง ร่างกายจะคิดว่าสิ่งที่อยู่ด้านในหมอนรองกระดูกคือสิ่งแปลกปลอมปลิ้นไหลออกมา ร่างกายจะทำการกำจัดทิ้งจนกลายเป็นการอักเสบของหมอนรองกระดูก อาการของโรคหมอนรองกระดูกอักเสบ ผู้ที่มีอาการหมอนรองกระดูกอักเสบมักปวดหลังส่วนล่าง รวมไปถึงการปวดชาบริเวณขา ถือว่าเป็นโรคที่ค่อนข้างวินิจฉัยได้ยากอาการที่เห็นชัดเจนที่สุดมีแค่การปวดหลัง ซึ่งจริงๆ ก็มีด้วยกันหลากหลายสาเหตุทว่าหากจะตรวจสอบว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูกอักเสบหรือไม่ก็คือ เวลานั่งจะนั่งเป็นเวลานานๆ ไม่ได้ แต่พอยืนหรือแอ่นตัวอาการก็จะดีขึ้น แต่ถ้าก้มตัวจะปวดมากขึ้นกว่าเดิม มีอาการต่างๆ เหล่านี้สลับๆ กันเป็นระยะเวลานาน กรณีปวดหลังเรื้อรังรักษาเท่าไหร่ก็ไม่หายเป็นสัญญาณที่ระบุว่าอาจเป็นโรคหมอนรองกระดูกอักเสบ วิธีการรักษาโรคหมอนรองกระดูกอักเสบ 1. กรณีที่ติดเชื้อในกระแสเลือดให้ทานยาฆ่าเชื้อ หรือใครที่ปวดมากๆ ก็สามารถทานยาแก้อักเสบและยาแก้ปวดได้ 2. การทำกายภาพบำบัดเป็นประจำจากคำแนะนำของแพทย์ให้เป็นไปตามท่าทางที่ช่วยให้หมอนรองกระดูกมีอาการดีขึ้น เจ็บหลังน้อยลง 3. หากมีอาการปวดมากๆ จนทนไม่ไหวก็อาจจำเป็นต้องใช้การผ่าตัดเพื่อจะทำให้อาการปวดนั้นทุเลาลง แม้ไม่อยากมีใครที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดแต่ถ้าหากมันสร้างความรำคาญหรือเจ็บปวดจนทนไม่ไหวก็ผ่าตัดจะดีกว่า

หมอนรองกระดูกเสื่อมคืออะไรและรักษาอย่างไร

หมอนรองกระดูกเสื่อมคืออะไรและรักษาอย่างไร

หากใครกำลังมีความคิดว่าโรคประเภทความเสื่อมต่างๆ ของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นสายตา กระดูก การได้ยิน และอื่นๆ อีกมากมายจะเกิดขึ้นแต่กับคนที่มีอายุแล้วความคิดแบบนี้ถือว่าผิดมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมอนรองกระดูกที่คนส่วนใหญ่มองว่าคงต้องเป็นคนที่อายุเยอะอย่างเดียวจึงจะเจออาการและโรคดังกล่าว ความจริงแล้วโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนเพราะความเสื่อมของหมอนรองกระดูกก่อนวัยสามารถเกิดขึ้นได้ที่สำคัญเป็นไปได้มากเสียด้วยกับคนที่นั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานและคนที่นิยมการทำกิจกรรมผาดโผนทั้งหลาย หมอนรองกระดูกเสื่อมคืออะไร อวัยวะอย่างกระดูกสันหลังของเราจะประกอบไปด้วยการต่อกันของกระดูกหลายๆ ชิ้นซึ่งระหว่างกระดูกที่มีการต่อกันนี้จะมีสิ่งที่เรียกว่า หมอนรองกระดูก เป็นตัวคั่นกลางเอาไว้ ดังนั้นหากกระดูกสันหลังทั้งหมดมีกี่ชิ้นหมอนรองกระดูกก็จะมีจำนวนใกล้เคียงกัน จริงๆ แล้วหมอนรองกระดูไม่ใช่กระดูกแต่จะประกอบไปด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ วงรอบนอกมีลักษณะเป็นเอ็นแข็งเรียกว่า Anular Ligament กับตรงกลางมีลักษณะเป็นเจลใสเรียกว่า Nucleus Pulposus ทั้งหมดทั้งมวลนี้มีหน้าที่รับแรงกระแทกเพื่อทำให้เราสามารถเคลื่อนไหวกระดูกสันหลังได้ดีมากขึ้น หมอนรองกระดูกเสื่อมก็เกิดจากการใช้งานหมอนรองกระดูกที่ผิดท่าทางมาเป็นระยะเวลานานทำให้หมอนรองกระดูกเกิดความเสื่อมสภาพลงซึ่งจะส่งผลในอนาคตต่อการเป็นโรคกระดูกทับเส้นประสาทด้วย และหากอาการดังกล่าวเกิดขึ้นก็จะเสี่ยงต่อการเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต ไปอีก เป็นความเสี่ยงที่อันตรายส่งต่อเป็นผลกระทบอย่างมาก การรักษาอาการหมอนรองกระดูกเสื่อม จริงๆ แล้วการรักษาอาการหมอนรองกระดูกเสื่อมไม่ได้มีวิธีการที่จะทำให้หายขาดได้เพราะอาการจะไม่ค่อยแสดงออกนอกจากกระดูกจะเคลื่อนไปทับเส้นประสาทแล้ว แต่ถ้าหากรู้สึกปวดหลังและไปพบแพทย์จนแพทย์วินิจฉัยว่าเป็นโรคหมอนรองกระดูเสื่อมก็จะสามารถรักษาด้วยการทานยาแก้ปวด พยายามกายภาพบำบัดในท่าทางที่เหมาะสมตามคำแนะนำของแพทย์ แต่ถ้าหากว่าอาการหนักขึ้นจนกลายเป็นโรคกระดูกทับเส้นประสาทก็จำเป็นที่จะต้องผ่าตัดไม่อย่างนั้นจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย อย่างที่กล่าวไว้ว่าอาการหมอนรองกระดูกเสื่อมสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนไม่ใช่แค่คนสูงอายุเท่านั้น การดูแลสุขภาพร่างกายตัวเองจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ชีวิตของเราปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ ที่สำคัญคือการพยายามเปลี่ยนท่าทางประจำสำหรับคนทำงานออฟฟิศหรือต้องนั่งทำงานเป็นเวลานานจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหมอนรองกระดูกเสื่อมได้ด้วยเช่นเดียวกัน เป็นการป้องกันเอาไว้ดีกว่าแก้ทีหลัง

หลายสัญญาณเตือนก่อนที่จะคุณเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หลายสัญญาณเตือนก่อนที่จะคุณเป็นหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทถือว่าเป็นอาการที่มีความอันตรายไม่น้อยเลยทีเดียว เป็นอาการที่สามารถพบได้กับทุกเพศตั้งแต่วัยทำงานขึ้นไปโดยเฉพาะคนทำงานออฟฟิศที่ต้องนั่งท่าเดิมๆ เป็นเวลานาน คนทำงานแบกหาม และอีกหลายๆ ปัจจัย ซึ่งอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทนั้นจะค่อยๆ แสดงออกมาให้คนที่เป็นได้สัมผัสมากขึ้นเรื่อยๆ หลายคนอาจคิดว่าเป็นแค่อาการปวดหลังธรรมดาแต่ถ้าหากไม่รีบรักษาอาการปวดหลังที่ว่านี้สามารถลุกลามถึงขั้นเป็นอัมพฤกษ์อัมพาตได้เหมือนกัน สัญญาณเตือนอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลังมีสาเหตุจากหลายปัจจัยไม่ว่าจะเป็นอายุของคนที่มากขึ้น ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิต การทำงานที่ต้องอยู่ท่าเดียวนานๆ การทำงานแบกหาม การสูบบุหรี่จัด รวมไปถึงเรื่องของอุบัติเหตุที่กระดูกสันหลังได้รับการกระทบกระเทือนบ่อยครั้ง ส่งผลให้กระดูกสันหลังเสื่อมเร็วยิ่งขึ้น การเสื่อมของโครงกระดูกสันหลังส่งผลให้เกิดการทรุดตัวของโครงสร้างกระดูก จะเกิดกระดูกสันหลังงอก หรือเป็นหินปูนขึ้นมา ซึ่งปกติแล้วเวลาที่กระดูกงอกขึ้นมาร่างกายจะไม่ได้แสดงอาการอะไรแต่ถ้าหากกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทก็จะมีอาการปวดร้าวตามเส้นประสาทของร่างกาย อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทให้สังเกตตัวเองว่าถ้ามีความรู้สึกปวดหลังแบบเป็นๆ หายๆ ด้วยระยะเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป รวมไปถึงบางรายมีอาการปวดขาร้าวตั้งแต่สะโพกลงไปที่น่องจนถึงเท้า จะปวดมากๆ เวลาเดินทำให้ต้องหยุดพัก นอกจากนี้ยังอาจมีอาการปวดหลังลามลงมาที่ขาดข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้างก็ได้ หากพบว่าตัวเองมีอาการดังกล่าวนี้ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อให้วินิจฉัยโรคพร้อมกับเข้ารับการรักษาทันทีหากปล่อยเอาไว้อาจเกิดอันตรายถึงขั้นพิการเลยก็ได้เช่นกัน บางคนอาจคิดว่าการรักษาอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจำเป็นต้องผ่าตัดทุกรายแต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เบื้องต้นเมื่อแพทย์ตรวจอาการแล้วเป็นไม่หนักมากจะมีการจ่ายยาแก้ปวดร่วมกับยาอักเสบเพื่อลดการอักเสบของกล้ามเนื้อและเอ็น จะช่วยให้อาการปวดหลังทุเลาลงนอกจากนี้แพทย์จะแนะนำให้มีการทำกายภาพบำบัดร่วมกับการเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ส่งผลให้เกิดอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทไม่ว่าจะเป็นการเลิกทำกิจกรรมท่าเดียวนานๆ เช่น นั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ การเลิกยกของหนักหรือเลิกการแบกหามของที่เกินกำลัง แต่ถ้าหากว่าผู้ป่วยคนไหนมีอาการรุนแรงมากก็อาจจำเป็นต้องผ่าตัดไม่อย่างนั้นจะส่งผลร้ายต่อชีวิตได้อย่างแน่นอน การดูแลร่างกายตัวเองให้ดีจึงเป็นสิ่งสำคัญเพราะคงไม่มีใครอยากเข้าห้องผ่าตัดอย่างแน่นอน